UFABETWINS ปฏิเสธไม่ได้ว่า การคว้าแชมป์ ยูฟ่า แชมเปียนส์ ลีก มาครองเป็นสมัยที่ 6 ของ บาเยิร์น มิวนิค มีส่วนสำคัญจากนักเตะฝีมือดีหลายราย
อัดแน่นอยู่ในถ้ำเสือใต้ ไม่ว่าจะเป็น โรเบิร์ต เลวานดอฟสกี, มานูเอล นอยเออร์, แซร์จ นาบรี หรือ โยชัว คิมมิช แข้งฝีมือดีเหล่านี้ ไม่ใช่เด็กปั้นของสโมสร แต่ล้วนเป็นนักเตะที่ บาเยิร์น มิวนิค ซื้อตัวจากสโมสรอื่นในบุนเดสลีกา ด้วยราคาถูกแสนถูก ยิ่งไปกว่านั้น บาเยิร์น ได้นักเตะบางคนมาแบบฟรี ๆ จนทำให้พวกเขากลายเป็นทีมผูกขาดแชมป์บุนเดสลีกา 8 สมัยติดต่อกัน เจาะลึกเบื้องหลังคำครหา “จอมดูด” ของบาเยิร์น มิวนิค ถึงสาเหตุแท้จริงที่พวกเขาชอบซื้อนักเตะ
จากทีมในเยอรมัน การเตะตัดขาคู่แข่งแย่งแชมป์อย่างแนบเนียน ? แข้งเยอรมันคือเป้าหมาย หากคุณเป็นแฟนเกม Football Manager จะรู้ดีว่า ก่อนเข้ารับงานเป็นผู้จัดการทีมทุกสโมสร จะมีการบอกวัฒนธรรมองค์กรให้ผู้เล่นเกมทราบ สำหรับ บาเยิร์น มิวนิค แนวทางการซื้อนักเตะถูกเขียน วัฒนธรรมเกี่ยวการซื้อนักเตะที่กล่าวมา บ่งชี้ชัดเจนว่า บาเยิร์น มิวนิค มีความต้องการ และให้ความสำคัญในการซื้อนักเตะจากทีมในบุนเดสลีกา เมื่อพิจารณาจากแนวทาง
ยกตัวอย่างข้อแรก “เซ็นสัญญานักเตะชาวเยอรมัน” เป็นไปไม่ได้เลยที่ บาเยิร์น มิวนิค จะหาแข้งชาวเยอรมันนอกบุนเดสลีกา การล่านักเตะจากเพื่อนร่วมลีกจึงเริ่มต้น นับตั้งแต่ บาเยิร์น มิวนิค ทุ่มเงิน 30 ล้านยูโร คว้า มานูเอล นอยเออร์ มาจาก ชาลเก้ 04 ในฤดูกาล 2011-12 เป็นเวลา 10 ฤดูกาลติดต่อกันแล้วที่บาเยิร์น มิวนิค จะคว้านักเตะชาวเยอรมัน จากสโมสรในบุนเดสลีกา เข้าสู่ทีมอย่างน้อยฤดูกาลละ 1 คน โดยไม่จำกัดว่านักเตะรายนั้น จะเป็นนักเตะระดับซูเปอร์สตาร์
หรือแข้งดาวรุ่งรอโอกาสฉายแสง มาริโอ เกิทเซ และ มัตส์ ฮุมเมิลส์ (โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์), เลออน โกเร็ตซ์กา และ อเล็กซานเดอร์ นูเบิล (ชาลเก้ 04), นิคลาส ซูเล, เซบาสเตียน รูดี และซานโดร วากเนอร์ (ฮอฟเฟนไฮม์), เซบาสเตียน โรเด (ไอนทรัค แฟรงค์เฟิร์ต), โยชัว คิมมิช (สตุ๊ตการ์ท), แซร์จ นาบรี (แวร์เดอร์ เบรเมน), มิตเชลล์ ไวเซอร์ (เอฟซี โคโลญจน์) และ ยาน ฟีเตอร์ อาร์ป (ฮัมบูร์ก เอสเฟา) นี่คือตัวอย่างของนักเตะชาวเยอรมันที่ถูก บาเยิร์น มิวนิค
คว้าตัวตามแนวทางการเซ็นสัญญาผู้เล่นภายในประเทศ ในช่วงเวลา 10 ฤดูกาลที่ผ่านมา จากรายชื่อด้านบนจะเห็นว่า มีอย่างน้อย 9 สโมสรในเยอรมัน ที่เคยถูกบาเยิร์น มิวนิค ดึงตัวนักเตะ กล่าวให้เข้าใจง่าย ครึ่งหนึ่งของสโมสรในบุนเดสลีกา ต่างโดน บาเยิร์น มิวนิค คว้านักเตะคนสำคัญเข้าสู่ทีม อันที่จริง การคว้านักเตะจากทีมร่วมลีกที่เล็กกว่า ถือเป็นเรื่องปกติตามวิถีฟุตบอล ทีมอย่าง ยูเวนตุส, เรอัล มาดริด หรือ บาร์เซโลน่า ต่างซื้อนักเตะท้องถิ่นจากเพื่อนคู่ลีกทั้งนั้น
แต่เหตุผลที่ทำให้ บาเยิร์น มิวนิค ถูกเพ่งเล็งจากแฟนบอลทีมอื่นว่า เป็น ทีมพลังดูด เนื่องจากเงินที่พวกเขาจ่ายไปในแต่ละดีล ช่างน้อยเสียเหลือเกิน มีเพียง มาริโอ เกิทเซ และ มัตส์ ฮุมเมิลส์ ที่บาเยิร์น มิวนิค ยอมทุ่มเงินเป็นจำนวน 37 และ 35 ล้านยูโรตามลำดับ ส่วนนักเตะชาวเยอรมันที่เหลือ บาเยิร์น มิวนิค ไม่เคยทุ่มเงินมากกว่า 20 ล้านยูโร ที่สำคัญ นักเตะฝีมือดีจำนวนมากที่กล่าวมาข้างต้น ย้ายเข้ามาร่วมทีมบาเยิร์น มิวนิค แบบไม่มีค่าตัว ตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุด
คือกรณีของ เลออน โกเร็ตซ์กา และ อเล็กซานเดอร์ นูเบิล 2 นักเตะอนาคตไกลจากชาลเก้ 04 ที่ถูกบาเยิร์น มิวนิค คว้าตัวแบบฟรี ๆ ทั้งที่ประเมินตามค่าตัวในเว็บไซต์ transfermarkt ชาลเก้ 04 ควรได้เงินอย่างน้อย 56 ล้านยูโร แต่พวกเขากลับมือเปล่า ไม่ได้สักยูโร การที่ บาเยิร์น มิวนิค รอให้นักเตะหมดสัญญา เพื่อคว้านักเตะฟรีจากเพื่อนร่วมลีกแบบไม่เสียเงิน ทั้งที่การจ่ายเงินสัก 20-30 ล้านยูโร คงไม่ช่วยให้บาเยิร์น มิวนิค เจอปัญหา แต่ช่วยให้ชาลเก้ 04 ลดหนี้ที่กำลัง
ทับถมในสโมสรได้แน่ ไม่ใช่เรื่องแปลกที่หลายคนจะมองว่า บาเยิร์น มิวนิค เห็นแก่ตัวแต่หากมองในแง่มุมของคนทำทีม และนักธุรกิจที่ทำการค้า บาเยิร์น มิวนิค มองเห็นสถานการณ์ในตลาดซื้อขายอย่างแจ่มแจ้ง ทั้งความต้องการของนักเตะ และสถานการณ์ของคู่ค้า ทำให้ บาเยิร์น มิวนิค คว้านักเตะฝีมือดีมาร่วมทีมแบบฟรี ๆ อย่างต่อเนื่อง แบบที่หลายทีมทั่วโลกไม่เคยทำได้ ตัดขาคู่แข่งอย่างจงใจ ไม่ใช่แค่นักเตะชาวเยอรมันที่ บาเยิร์น มิวนิค หมายตา
บรรดาแข้งต่างชาติที่พเนจรมาค้าแข้งในเยอรมัน พวกเขาคือเป้าหมายของทัพเสือใต้เช่นกัน ในฤดูกาล 2010-11 คือ ฤดูกาลล่าสุดที่บาเยิร์น มิวนิค ไม่ซื้อนักเตะชาวเยอรมันเข้าสู่ทีม พวกเขาหอบเงิน 17 ล้านยูโร เพื่อคว้าตัว ลุยซ์ กุสตาโว กองกลางชาวบราซิลมาจาก ฮอฟเฟนไฮม์ หรืออย่างในรายของ มาริโอ มานด์ซูคิช กองหน้าโครเอเชีย (โวล์ฟบวร์ก), ดานเต กองหลังบราซิล (โบรุสเซีย มึนเชนกลัดบัค), โรเบิร์ต เลวานดอฟสกี กองหน้าโปแลนด์ (โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์)
และ เบนฌาแมง ปาวาร์ แนวรับชาวฝรั่งเศส (สตุ๊ตการ์ท) ผู้เล่นเหล่านี้ คือ ตัวอย่างของนักเตะต่างชาติฝีมือดีที่มาค้าแข้งกับทีมอื่นในบุนเดสลีกา และถูกบาเยิร์น มิวนิค คว้าตัวไปร่วมทีมในภายหลัง หลักการคว้าตัวนักเตะต่างชาติในบุนเดสลีกา แตกต่างจากการคว้านักเตะชาวเยอรมัน บาเยิร์น มิวนิค ทุ่มเงินค่อนข้างมากกับการซื้อนักเตะกลุ่มนี้ เช่น เบนฌาแมง ปาวาร์ กองหลังทีมชาติฝรั่งเศส ที่ยอมควัก 35 ล้านยูโร จากสตุ๊ตการ์ทที่จ่อตกชั้นในฤดูกาล 2018-19 หรือ
มิคาเอล กุยซองส์ ดาวรุ่งชาวฝรั่งเศส จากโบรุสเซีย มึนเชนกลัดบัค ที่ใครหลายคนอาจไม่รู้จัก บาเยิร์น มิวนิค ยอมจ่ายเงินสูง 12 ล้านยูโร เพื่อคว้าตัวมาในฤดูกาล 2019-20 มีนักเตะต่างชาติรายเดียวในบรรดาชื่อทั้งหมด ที่บาเยิร์น มิวนิค คว้าตัวมาร่วมทีมแบบไม่ต้องเสียเงิน คือ โรเบิร์ต เลวานดอฟสกี กองหน้าชาวโปแลนด์ ของโบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ ซึ่งการซื้อตัวนักเตะด้วยแนวคิดสำคัญที่พาบาเยิร์น มิวนิค ครองแชมป์บุนเดสลีกา ติดต่อกัน 8 สมัย คือ เซ็นสัญญานักเตะ
จากทีมคู่ปรับ บาเยิร์น มิวนิค พลาดแชมป์บุนเดสลีกา ในฤดูกาล 2010-11 และ 2011-12 หลัง เยอร์เกน คล็อปป์ ปลุกปั้นโบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ กลายเป็นทีมพลังหนุ่มคว้าแชมป์บุนเดสลีกา 2 ปีซ้อน หลังจากนั้นไม่นาน กำลังหลักของโบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ ตั้งแต่กองหลัง กองกลาง ถึง กองหน้า ต่างพาเหรดย้ายมาอยู่ บาเยิร์น มิวนิค มัตส์ ฮุมเมิลส์, มาริโอ เกิทเซ และ โรเบิร์ต เลวานดอฟสกี คือนักเตะตัวหลัก 3 ราย ของโบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ ที่บาเยิร์น มิวนิค ซื้อมาร่วมทีม
สิ่งที่น่าสังเกตคือ การซื้อขายระหว่าง 2 ทีม เกิดขึ้นในช่วงปี 2013-2016 ที่การขับเคี่ยวระหว่างบาเยิร์น มิวนิค และโบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ ยังสูสี แต่หลังจากปี 2016 เป็นต้นมา ที่บาเยิร์น มิวนิค แข็งแกร่งกว่าโบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ อย่างเห็นได้ชัด พวกเขาไม่หันกลับไปซื้อนักเตะจากทัพเสือเหลืองอีกเลยจนถึงปัจจุบัน ทั้งที่มีนักเตะฝีมือดีอย่าง อุสมาน เดมเบเล, คริสเตียน พูลิซิช, ปิแอร์ เอเมอริค โอบาเมยอง และ เจดอน ซานโช ให้เลือกซื้อ การซื้อตัวนักเตะจากโบรุสเซีย
ดอร์ทมุนด์ ของบาเยิร์น มิวนิค ในช่วงปี 2013-2016 จึงเกิดขึ้นจากเจตนา 2 ด้าน อย่างแรกคือการเสริมทัพตามวิถีฟุตบอล อย่างที่สองคือการเตะตัดขาคู่แข่งลุ้นแชมป์อย่างจงใจ เพื่อไม่ให้มีทีมใดในบุนเดสลีกา ก้าวขึ้นมาทัดเทียมความยิ่งใหญ่ในเร็ววัน “ดูด” ตามกลไกตลาด ปฏิเสธไม่ได้ว่าแนวทางการซื้อนักเตะของบาเยิร์น มิวนิค มีส่วนช่วยให้ทีมเสือใต้แข็งแกร่งเกินหน้าเพื่อนร่วมลีกอย่างชัดเจน คำครหาว่า “ดูด” ที่เกิดขึ้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะการกระทำ
ของบาเยิร์น มิวนิค ไม่แตกต่างจากชาติมหาอำนาจ ลงมือดูดทรัพยากรจากประเทศโลกที่สาม ตามแต่โอกาสจะอำนวย อย่างไรก็ตาม การคว้าตัวนักเตะของบาเยิร์น มิวนิค ตามแนวทางดังกล่าว ไม่สามารถบอกได้ว่า บาเยิร์น มิวนิค กำลังเอาเปรียบทีมอื่นในบุนเดสลีกา เพราะหากมองมุมกลับ บาเยิร์น มิวนิค ไม่ได้ขายนักเตะแก่สโมสรร่วมลีกในราคาที่แพง กล่าวคือ ซื้อมาถูก ก็ขายถูก เช่นเดียวกัน ตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุด คือกรณีขายนักเตะกลับโบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์
ทั้ง มาริโอ เกิทเซ และมัตส์ ฮุมเมิลส์ บาเยิร์น มิวนิค ขายนักเตะทั้ง 2 ราย กลับสู่ต้นสังกัดเก่า ด้วยราคาขาดทุนทั้งหมด คือ 22 และ 30.5 ล้านยูโร หากมองดีลที่เกิดผ่านตัวเงินเพียงอย่างเดียว โบรุสซีย ดอร์ทมุนด์ ได้กำไรเต็ม ๆ แม้กระทั่งการขายนักเตะให้ทีมเล็ก บาเยิร์น มิวนิค ไม่ได้โก่งกำไรเกินควร มาร์โก ฟรีเดิล ถูกขายให้แก่แวร์เดอร์ เบรเมน ในฤดูกาล 2019-20 ด้วยราคา 3.5 ล้านยูโร ขณะที่ฮอฟเฟนไฮม์จ่ายเงินเพียง 1 ล้านยูโร เพื่อยืม แซร์จ นาบรี มาใช้งานในฤดูกาล
2017-18 ซึ่งในฤดูกาลเดียวกัน บาเยิร์น มิวนิค ปล่อย เรนาโต ซานเชส ให้ สวอนซี ใช้งาน พวกเขาเก็บค่าเงินจากทีมดังในพรีเมียร์ลีกเป็นเงิน 8.5 ล้านยูโร สิ่งหนึ่งที่ทุกคนควรรู้เกี่ยวกับฟุตบอลในเยอรมัน คือ พวกเขามีกฎ 50+1 (กำหนดให้สโมสรฟุตบอลในเยอรมัน ต้องมีแฟนบอลถือหุ้นอย่างน้อย 51 เปอร์เซ็นต์) คอยควบคุมสถานะทางการเงินของแต่ละสโมสร การซื้อขายนักเตะด้วยราคาถูก จึงเป็นเรื่องปกติในบุนเดสลีกา เนื่องจากเกือบทุกสโมสรไม่มีนายทุนหนุนหลัง
การซื้อ-ขายนักเตะกับเพื่อนร่วมลีก ด้วยราคาถูกของบาเยิร์น มิวนิค จึงไม่ใช่การกดขี่ แต่เป็นไปตามหลักตลาดเสรี ที่ผู้ซื้อต้องการสินค้า และผู้ขายต้องการจำหน่าย ไม่มีใครบังคับให้ดอร์ทมุนด์ต้องขายนักเตะให้ บาเยิร์น มิวนิค แต่จากเม็ดเงินไม่ต่ำกว่า 30 ล้านยูโร ที่บาเยิร์นยื่นมาในดีลของเกิทเซ และฮุมเมิลส์ นี่คือกำไรทางธุรกิจที่คุณหาไม่ได้จากที่ไหน สโมสรเยอรมันรู้ดีว่า พวกเขาควรทำธุรกิจกับทีมในประเทศอย่างไร และทำธุรกิจกับทีมต่างประเทศอย่างไร
นี่คือเหตุผลที่ บาเยิร์น มิวนิค ปล่อยยืมนักเตะให้แวร์เดอร์ เบรเมน ในราคาถูกกว่าสวอนซี 8.5 เท่า เพราะเขารู้ว่าเงิน 1 ล้านยูโรสำหรับทีมในเยอรมัน อาจมีความหมายมากกว่าเงิน 8.5 ล้านยูโร ของทีมในอังกฤษ การซื้อนักเตะของบาเยิร์น มิวนิค จากเพื่อนร่วมลีก ที่หลายคนกล่าวว่า “ดูด” แท้จริงเป็นเพียงการซื้อขายตามกลไกตลาดเสรี หากมองด้วยแนวคิดทุนนิยมเสรี นี่คือการทำธุรกิจอย่างชาญฉลาด หากมองผ่านแนวคิดสังคมนิยม บาเยิร์น มิวนิค หาประโยชน์จากข้อได้เปรียบ
ของตลาดเสรี ดึงนักเตะในบุนเดสลีกามีราคาถูกกว่า เข้ามาเป็นกำลังหลัก และสามารถลดความแข็งแกร่งของคู่แข่งได้พร้อมกัน ไม่ว่าคุณจะคิดอย่างไร สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือ การ “ดูด” นักเตะของบาเยิร์น มิวนิค จากทีมในบุนเดสลีกา มีส่วนสำคัญที่ทำให้บุนเดสลีกา แข็งแกร่งดั่งในปัจจุบัน
เมื่อนำนักเตะเหล่านี้เข้ามาผสมผสานกับเด็กปั้นในอคาเดมี ที่ขึ้นชื่อเรื่องฝีเท้า บาเยิร์น มิวนิค จึงเป็นทีมที่รักษามาตรฐานอย่างมั่นคง และยาวนาน จนก้าวขึ้นมาเป็นแชมป์ยูฟ่า แชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2019-20 ด้วยการลงทุนอย่างคุ้มค่าที่สุด
คลิ๊กเลย >>> UFABETWINS
อ่านข่าวเพิ่ม >>> บ้านผลบอล