UFABETWINS ก่อนที่ เปแอสเช จะกลายเป็นทีมระดับแถวหน้าด้วยเงินของมหาเศรษฐีชาวกาตาร์
พวกเขาอยู่ใต้ร่มเงาของทีมอย่าง โอลิมปิก ลียง ทีมที่บริหารด้วยแนวคิดอันเฉียบแหลม ไม่ต้องมีเศรษฐีแต่มีมุมมองการทำทีมที่เหนือชั้นจนทั่วโลกต้องซูฮก นี่คือเรื่องราวที่ย้อนกลับไปเมื่อราว 20 ปีก่อน วันที่ โอลิมปิก ลียง เป็นทีมจากฝรั่งเศสทีมแรกที่ไม่เคยกลัวใครในยุโรป บุกไปยิงทีมอย่าง เรอัล มาดริด และ
บาเยิร์น มิวนิค คารังมาแล้ว และเมื่อเล่นในประเทศไม่มีคู่แข่งทีมใดหยุดพวกเขาได้เพราะห่างชั้นกันหลายช่วงตัว จนกลายเป็นแชมป์ลีกติดต่อกันถึง 7 ฤดูกาล “ลียง ลงเป็นยิง” เกิดขึ้นได้อย่างไร และจบยุคสมัยแห่งความสำเร็จแบบไหน ติดตามได้ที่นี่?ฌอง มิเชล โอลาส ลียง ไม่ใช่ทีมใหญ่โตอะไรในประวัติศาสตร์ของ
วงการฟุตบอลฝรั่งเศส สโมสรที่ก่อตั้งในปี 1950 มีชื่อเสียงเป็นรองทีมอย่าง โอลิมปิก มาร์กเซย, ปารีส แซงต์ แชร์กแม็ง และ โมนาโก อยู่หลายขุมในช่วงก่อนเข้าสู่ยุค 90’s อย่างไรก็ตามอนาคตคือสิ่งที่สามารถสร้างเองได้ และสิ่งที่ทุกสโมสรบนโลกนี้ต้องการหากอยากจะเป็นทีมที่ยิ่งใหญ่คือ “ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์”
สำหรับ ลียง นั้นเรื่องราวทั้งหมดเกิดจากชายที่ชื่อ ฌอง มิเชล โอลาส นักธุรกิจชาวฝรั่งเศสที่มีทรัพย์สินประมาณ 600 ล้านยูโร ตัวของเขาเข้ามาซื้อทีม ลียง ในปี 1987 ด้วยแนวคิดที่ผสมผสานกันระหว่าง นักธุรกิจ + คนรักฟุตบอล นั่นคือทีมจะต้องทำเงิน, มีฐานการเงินที่แข็งแกร่ง และสำคัญที่สุดคือต้องประสบความ
สำเร็จด้วย ซึ่งนี่คือโจทย์ที่หินที่สุด แต่ โอลาส ก็ฉลาดพอที่จะค่อยๆ แก้ไขปัญหาไปทีละเรื่อง ไม่ฉีดเงินเข้าไปและซื้อนักเตะมั่วซั่วเหมือนกับทีมที่มีเจ้าของเป็นเศรษฐีหลายคนทำ นอกจากการเริ่มทะยอยเคลียร์บัญชีของทีมจากหนี้เก่าๆ จนหมดสิ้น โอลาส นำทีมเข้าตลาดหลักทรัพย์ และสร้างแบรนด์ให้ ลียง เป็น
ทีมขายได้ ไม่ใช่แค่เรื่องฟุตบอล ภายใต้แบรนด์ พวกเขามีธุรกิจเกี่ยวกับสื่อที่ชื่อว่า บริษัทเกี่ยวกับ ออร์แกไนเซอร์ บริษัทเกี่ยวกับการจัดเลี้ยง รวมถึงการสร้างบริษัทเซลส์ มาร์เก็ตติ้งด้วย ในส่วนของทีมฟุตบอล ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญที่สุดโอลาสก็เปลี่ยนแปลงการบริหารใหม่ด้วย เขาทำให้แน่ใจว่าเงินที่จะถูกใช้ต่อ
จากนี้ จะต้องเป็นการใช้เงินที่ไม่ต้องทำให้เขาต้องออกเงินส่วนตัวมาเคลียร์หนี้อีกต่อไป ทุกการลงทุนจะทำให้สโมสรเดินหน้าได้อย่างแข็งแกร่ง เป็นเงินต่อเงิน ไม่ใช่เงินสร้าง ด้วยแนวคิดและวิสัยทัศน์ดังกล่าว โอลาส จึงสร้างทีมในแนวทางแบบซื้อมาขายไป … นักเตะของทุกคนสามารถประเมินค่าเป็นเงินได้ทั้งหมด
ถ้าหากมากพอ สโมสรจะไม่รั้งใครไว้ พวกเขาจะรับเงินมา ปล่อยนักเตะไป จากนั้นก็ลงทุนอย่างชาญฉลาดต่อไปเรื่อยๆ และเมื่อถึงจุดหนึ่งทุกอย่างก็แข็งแกร่งแม้จะต้องรอถึง 15 ปี ก็ตาม ลียง ลงเป็นยิง โอลาส ใช้การบริหารของเขาพาทีมขึ้นมายังลีกสูงสุดในปี 1989 และในช่วงยุค 90’s ลียง เริ่มมีชื่อเสียงในลีกเอิงขึ้น
มาบ้าง ด้วยการไต่ไปถึงการได้เป็นรองแชมป์ลีกในปี 1994-95 แต่ความพยายามตลอดยุค 90’s นั้นไม่ประสบความสำเร็จในฐานะพระเอกเลย อย่างดีก็เป็นได้แค่รองแชมป์ แม้ในด้านของถ้วยรางวัลอาจจะยังไม่น่าประทับใจนัก แต่สิ่งที่ซ่อนอยู่ในเวลานั้นคือ ลียง เริ่มรวบรวมนักเตะฝีเท้าดีเอาไว้ได้มากขึ้นเรื่อยๆ พวก
เขาเน้นไปที่นักเตะบราซิล ที่มีความสามารถสูงและขายต่อได้ นักเตะบราซิลชุดแรกทยอยเข้ามาสู่ทีมในช่วงหลังปี 2000 เป็นต้นมา แข้งแซมบ้าชุดนี้ถือว่าเป็นชุดคลาสสิกและเริ่มต้นยุคสมัยอันยิ่งใหญ่ของลียงเลยก็ว่าได้ เพราะ 3 นักเตะอย่าง จูนินโญ่ แปร์นัมบูกาโน่, ซอนนี่ อันแดร์สัน และ เอ็ดมิลสัน คือ 3 แซมบ้าที่
สามารถใช้คำว่า “เก่งเกินลีกเอิง” ณ เวลานั้นได้จริง หากจะพูดให้เห็นภาพคือ โอลาส คือคนที่เปลี่ยนให้ลียง กลายเป็นทีมที่ปั้นนักเตะขาย และนำเงินที่ได้มาต่อยอดด้วยการใช้ความแข็งแกร่งของทีมแมวมองหานักเตะมีแววเข้ามาเสริมอีก นอกจากนี้เงินอีกส่วนจะถูกเก็บไว้เพื่อเอามาพัฒนาระบบเยาวชนของสโมสร
ซึ่งสุดท้ายก็ออกดอกออกผลให้พวกเขาได้ใช้และทำกำไรต่อไปอีก ด้วยนักเตะอย่าง คาริม เบนเซม่า และ ฮาเต็ม เบน อาร์กฟา ที่ล้วนมาจากทีมชุดเยาวชนของลียงทั้งสิ้น หลังจากเปลี่ยนระบบการดึงนักเตะเก่งๆ ที่รอวันเฉิดฉายมารวมกัน ลียง ก็คว้าแชมป์ลีกเอิงสมัยแรกในฤดูกาล 2001-02 จากนั้น นโยบายดังกล่าว
ของพวกเขาก็ติดปีก เพราะไม่ใช่แค่นักเตะบราซิลอีกแล้วที่ถูกนำเข้ามา ลียง ส่งแมวมองไปทั่วโลกโดยเฉพาะในแอฟริกา นอกจากนี้ยังไปสอดส่องนักเตะจากลีกเล็กๆ ในยุโรปอย่าง โครเอเชีย, เบลเยียม, สวีเดน, นอร์เวย์ รวมไปถึงการหานักเตะมีแววในลีกเอิงเอง เรียกได้ว่า ลียง หมดงบไปกับการสเกาต์นักเตะจำนวน
ไม่น้อย ทว่าสิ่งที่พวกเขาได้กลับมากลับการเป็นการตอบแทนทั้งเชิงตัวเลขและคุณภาพในสนาม ด้วยนักเตะอย่าง เฟร็ด, นิลมาร์, ไมเคิล เอสเซียง, ฟลอร็องต์ มาลูด้า, อาลู ดิยาร์ร่า, เอริค อบิดัล, อูโก้ โยริส และ มิราเล็ม ปานิช เป็นต้น นักเตะเหล่านี้ตอนย้ายมาพวกเขาใช้เงินไม่เกิน 5 ล้านยูโรเลยแม้แต่คนเดียว แต่พอ
ขายออกกลับได้กำไรมากถึง 4-5 เท่าเป็นอย่างต่ำ สโมสรฟุตบอลก็เหมือนกับคนๆ หนึ่งนั่นแหละ ในเมื่อมีเงินเต็มกระเป๋าพวกเขาก็ไม่มีความกังวล และเมื่อไม่มีความกังวลก็ทำให้มีสมาธิ และมีไอเดียมากพอที่จะไปโฟกัสกับเรื่องอื่นๆ ได้ เพราะในขณะที่หานักเตะดาวรุ่งมาปั้น ลียง ก็ใช้สเกาต์ให้เป็นประโยชน์อีกทาง
ในการหาเอานักเตะเสือเฒ่าจากลีกใหญ่ๆ 4 ลีก (สเปน, อิตาลี, อังกฤษ และ เยอรมัน) ที่หมดสัญญา หรือแม้กระทั่งเป็นส่วนเกินของต้นสังกัดเดิม เอามาปัดฝุ่นใหม่จนนักเตะเหล่านั้นตอบแทนผลงานแสนคุ้มค่า อาทิ โจวานี่ เอลแบร์ ที่ดึงมาจาก บาเยิร์น มิวนิค หรือแม้กระทั่ง ซิลแว็ง วิลตอร์ จาก อาร์เซน่อล เองก็อยู่ใน
กรณีเดียวกันนี้ สำหรับ ลียง เงินที่ได้มาทั้งหมดถูกแปรเปลี่ยนเป็นรากฐานของสโมสร และถูกต่อยอดขึ้นมาอีกเรื่อยๆ จนกระทั่งพวกเขากลายเป็นทีมที่มีการเงินเข้มแข็งเป็นลำดับต้นๆ ของสโมสรในยุโรปเลยทีเดียว นอกจากการซื้อขาย การสอดส่องนักเตะที่มีศักยภาพแล้ว สิ่งที่ต้องยอมรับในทีม ลียง ชุดนั้นคือพวกเขา
เป็นศูนย์รวมของนักเตะที่ “ใจใหญ่กว่าชื่อเสียง” ในยุคเริ่มต้นความยิ่งใหญ่หลังปี 2002 ที่คว้าแชมป์ลีกเรื่อยมาจนถึงปี 2008 ถือว่าเป็นยุค “ลียง ลงเป็นยิง” ของจริงของแท้ นอกจากจะตบทีมในลีกเดียวกันจนคว้าแชมป์แบบสบายๆ ทุกปีแล้ว พวกเขายังเป็นทีมที่เล่นในถ้วยยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก ได้อย่างไม่เคยกลัวใคร
กล่าวคือตลอดยุคทองที่กินเวลาราว 10 ปี ลียง สามารถผ่านรอบแบ่งกลุ่มเข้าไปเล่นรอบน็อคเอาต์ได้แทบทุกฤดูกาล บางปีเข้าไปถึงรอบตัดเชือกเลยด้วยซ้ำ สิ่งที่สุดยอดคือกลุ่มนักเตะที่มีทัศนคติดี และรวมกันจนเกิดเคมีที่ลงตัว ผู้เล่นหลายคนในลียงยุคทอง ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนกุนซือเป็นใครก็ตาม นักเตะเหล่านี้ให้
ความเคารพต่อสโมสรเป็นอย่างมาก สตาร์อย่าง จูนินโญ่ แปร์นัมบูกาโน่ เองก็เป็นหนึ่งในนั้น เขามาในฐานะนักเตะที่ปั้นรอวันขาย แต่เมื่อเวลาผ่านไป จูนินโญ่ กลับกลายเป็นกำลังสำคัญที่ทีมขาดไม่ได้ และที่สำคัญเขาก็ไม่อยากจะย้ายไปไหนด้วยแม้จะโดนทีมในยุโรปหลายทีมตามจีบก็ตาม ขณะที่ ไมเคิล เอสเซียง
ที่ไปโด่งดังสุดขีดกับ เชลซี ก็ยอมรับว่า 3 ปีของเขากับ ลียง คือประสบการณ์ที่ล้ำค่า เหมือนกับว่าเขายังติดหนี้กับสโมสรอยู่ เอสเซียง ยังเคยกล่าวว่าถ้า ลียง ต้องการตัวเขา (ก่อนที่เขาจะแขวนสตั๊ด) เขาจะไปเล่นให้กับทีมฟรีๆ อีกครั้งโดยไม่คิดค่าแรงเลยก็ยังได้
ความเหนือชั้นของทีมสเกาต์ และความรอบคอบในการวางหมากซื้อ-ขาย ที่สำคัญคือการได้นักเตะที่มีความเป็นผู้ชนะอยู่ในตัวสูงพร้อมๆ กับฝีเท้าที่เก่งจริง ทำให้ ลียง ณ เวลานั้น เดินหน้าไล่ถล่มคู่แข่งในลีกได้แบบสบายๆ จนได้ฉายาว่า “ลียง ลงเป็นยิง” อันเป็นตำนานกล่าวขานมาจนถึงทุกวันนี้นี่เอง ทำไมถึงตกต่ำ
ได้? ทั้งๆที่ ลียง ทำเงินนอกสนาม และคว้าแชมป์ได้มากมาย ทำไมพวกเขาจึงไม่สามารถยืนระยะได้นานกว่านั้น หรือแม้กระทั่งไม่เก่งเหมือนเมื่อก่อน เหตุผลหลักๆ ก็คือวิธีของพวกเขามันเวิร์คก็จริง แต่ปัญหาคือหลังจากที่ ลียง ใช้วิธีซื้อมาและขายจนประสบความสำเร็จ ก็มีอีกหลายสโมสรในยุโรปที่ใช้แนวทางนั้น
ลงทุนกับการสเกาต์ ดึงนักเตะจากแดนไกลมาปลุกปั้น เพื่อขายทำกำไรก้อนโต ตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุดคือทีมจากโปรตุเกสอย่าง เบนฟิก้า หรือ เอฟซี ปอร์โต้ ที่ใช้โมเดลนี้จนทำเงินได้มากมายจากการขายนักเตะที่พวกเขาตั้งใจขุนขึ้นมาโดยเฉพาะ ซึ่งฝั่งโปรตุเกสได้เปรียบกับการใช้งานนักเตะอเมริกาใต้มากกว่า
โดยเฉพาะเรื่องของวัฒนธรรมและภาษา นอกจากนี้ตัวแทนเอเยนต์ที่มีเครือข่ายขนาดใหญ่อย่าง จอร์จ เมนเดส ก็มีคอนเน็คชั่นมากมาย ทำให้การเจรจาซื้อขายนักเตะของฝั่งทีมดังจากโปรตุเกส สามารถได้เพชรเม็ดงามขึ้นมาหลายรายจน ยกตัวอย่างเช่น อังเคล ดิ มาเรีย, ฮัลค์, ราดาเมล ฟัลเกา เป็นต้น ขณะที่ ลียง
คงต้องใช้คำว่าบ่อน้ำแห่งพรสวรรค์ของพวกเขาเหือดแห้งลงไปไม่น้อย นักเตะจากบราซิลหรือชาติอื่นๆ ที่หยิบมาไม่สามารถขายทำกำไรได้เหมือนเก่า ทั้งๆ ที่พวกเขาเสียเงินลงทุนกับนักเตะเหล่านั้น มากกว่าในช่วง 8 ปีก่อนหน้านี้หลายเท่า ลียง จ่ายเงินไปเยอะมากเพื่อนักเตะใหม่หลังจากยุคทีมโปรตุเกสก้าวขึ้นมา
และนักเตะเหล่านี้ไม่สามารถแสดงผลงานตอบแทนราคาที่จ่ายไปได้เลย นอกจากการโดนทีมจากโปรตุเกสยึดเอาบ่อน้ำแห้งพรสวรรค์ไป ลียง ยังมีจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้พวกเขาไม่สามารถไปต่อได้มากกว่านั้น นั่นคือการพยายามจะอัพตัวเองให้ขึ้นไปเป็นทีมใหญ่แบบเต็มตัว จากการเล็งนักเตะโนเนมหรือเสือเฒ่าที่
มีไฟมาใช้งานได้คุ้มค่า กลับกลายมาเป็นการดึงเอานักเตะที่อยู่ในช่วงกำลังพีก โด่งดังกับทีมอื่นมาแล้วในระดับหนึ่งมาต่อยอด ซึ่งรู้ตัวอีกที ลียง ก็ขาดทุนยับเยินสำหรับธุรกิจในช่วงปี 2009 เป็นต้นมา กาแดร์ เกอิต้า (15 ล้านปอนด์), มาธิเยอร์ บ็อดแมร์ (15 ล้านปอนด์), ฌอง มาคูน (20 ล้านปอนด์), มิชาเอล บาสโตส
(17 ล้านปอนด์) คือนักเตะฝีเท้าดีของทีมอื่นในลีกเอิง ณ เวลานั้น ที่ ลียง พยายามใช้วิธีการซื้อแบบยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว นั่นคือตนเองได้นักเตะฝีเท้าดี ส่วนคู่แข่งก็เสียนักเตะตัวเก่งไปในคราวเดียวกัน แต่สุดท้ายรายชื่อเหล่านี้ก็ไม่มีใครคุ้มสักคน นอกจากนี้พวกเขายังเสียเงินไปอีกมากกับการซื้อขายแบบเดิมๆ
แต่ไม่ประสบความสำเร็จเหมือนเดิม เช่น ฟาบิโอ กรอสโซ่, เซซาร์ เดลกาโด้, คิม คัลสตรอม รวมไปถึงกลุ่มแข้งราคา 20 ล้านอัพอย่าง อาลี ซิสโซโก้, โยฮัน กูร์คุฟฟ์ และ บาเฟติมบี้ โกมิส จะเห็นได้ว่าชื่อเหล่านี้ไม่ได้ถูกจดจำในฐานะนักเตะของ ลียง เท่าไรนัก ซึ่งแน่นอนว่าดีลเหล่านี้ทำให้สโมสรขาดทุนมากมาย ซึ่ง
เป็นจุดเริ่มต้นของการหลุดจากการเป็นเบอร์ 1 ของวงการฟุตบอลฝรั่งเศสไปโดยปริยาย นอกจากการขาดทุนแล้วยังมีเรื่องของการเลือกโค้ชที่ผิดพลาด ว่ากันว่ายุคที่ดีที่สุดของ ลียง คือการมี ปอล เลอ กูเอ็น, อแล็ง แปร์กแร็ง และ เชราร์ อุลลิเยร์ คุมทีม ที่ 3 คนนี้ พาทีมคว้าแชมป์ลีกรวมกันมาถึง 7 สมัย ก่อนที่จะมีการ
เปลี่ยนกุนซือเป็น โคล้ด ปูแอล ที่ต้องมารับความกดดันมหาศาล เพราะต้องคว้าแชมป์ลีกให้ได้ทุกปี อีกทั้งยังต้องการความก้าวหน้าในถ้วยยุโรป กล่าวคือไม่แชมป์ก็ต้องเกือบแชมป์จึงจะเป็นผลงานที่ได้รับความชื่นชม ซึ่งนั่นมากเกินไปสำหรับนักเตะที่ ลียง มี ณ เวลานั้น รวมถึง ปูแอล ด้วย เพราะสุดท้ายแล้วเขา
กลายเป็นกุนซือคนแรกของทีมในรอบเกือบทศวรรษที่พาทีมพลาดแชมป์ ลีกเอิง แม้จะไปถึงรอบตัดเชือกของ ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก ก็ตาม แม้ลียงจะพยายามแก้ไขสถานการณ์เพื่อหวังจะพลิกกลับมาเป็นหมายเลข 1 อีกครั้งเหมือนกับที่เคยทำได้ แต่สุดท้ายมันก็ยากเกินไป เพราะมีกระดูกชิ้นโตอย่าง เปแอสเช ที่ได้
เศรษฐีชาวกาตาร์เจ้าของใหม่เข้ามา และทุ่มเงินมหาศาลมากเป็นประวัติศาสตร์ของโลก ไม่ใช่แค่ในฝรั่งเศสเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนั้นมันก็หมายความว่า ลียง นั้นแพ้ทุกทางสำหรับการกลับมาเป็นเบอร์ 1 ของฝรั่งเศส และนั่นทำให้นับตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา พวกเขาไม่สามารถคว้าแชมป์ลีกในประเทศได้อีกเลย อีกทั้งการเจอกับทีมคู่แข่งอื่นๆ ในลีกที่เคยง่ายก็กลายเป็นของยากหืดขึ้นคอเสมอ และนี่คือการปิดตำนาน “ลียง ลงเป็นยิง” โดยปริยาย
คลิกเลย >>> UFABETWINS
อ่านข่าวอื่นๆที่ >>> https://muratacreative.com/