UFABETWIN ความสัมพันธ์วงการกีฬารัสเซีย-ยูเครน ท่ามกลางความขัดแย้งที่อาจนำมาสู่สงคราม

หนึ่งในประเด็นที่ถูกพูดถึงอย่างแพร่หลาย และเป็นความเคลื่อนไหวที่ผู้คนทั่วโลกต่างจับตา ย่อมหนีไม่พ้นความขัดแย้งระหว่าง รัสเซีย กับ ยูเครน ที่กลับมาตึงเครียดอีกครั้งในช่วงต้นปี 2022

ท่ามกลางเสียงภาวนาไม่ให้เกิดสงครามขึ้นอีกครั้งในยุโรป นักกีฬาทั้งสองชาติต่างพบเจอกันในการแข่งขันหลายรายการ เมื่อลองย้อนมองไปดูตั้งแต่จุดเริ่มต้นของความขัดแย้งของทั้งสองชาติ ความสัมพันธ์ทางกีฬาของรัสเซียและยูเครนอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกมาแล้วเกือบ 10 ปี

จะพาคุณไปดูความสัมพันธ์ทางกีฬาของทั้งสองชาติ ตั้งแต่วันที่ยูเครนตกอยู่ใต้อิทธิพลของรัสเซีย จนถึงวันที่การเรียกร้องสันติภาพเกิดขึ้นในมหกรรมโอลิมปิกฤดูหนาว 2022

ผูกพันกันมานานกว่าร้อยปี

ความสัมพันธ์ด้านกีฬาของรัสเซียและยูเครนมีความเกี่ยวข้องกันตั้งแต่ศตรวรรษที่ 18 โดยวัฒนธรรมของยูเครนได้รับอิทธิพลมหาศาลจากประเทศมหาอำนาจผู้เป็นเพื่อนบ้านมาอย่างยาวนาน นับตั้งแต่จักรวรรดิรัสเซียเรืองอำนาจเมื่อปี 1721 ซึ่งในเวลานั้นชาวยูเครนไม่ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่วัฒนธรรมของตัวเอง โดยการพูดถึงยูเครนในฐานะชาติถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย

เมื่อจักรวรรดิรัสเซียล่มสลาย และนำมาสู่การก่อกำเนิดของสหภาพโซเวียตในปี 1922 ยูเครนถือเป็นหนึ่งใน 15 สาธารณรัฐองค์ประกอบของสหภาพโซเวียต ภายใต้ชื่อ สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน และถึงแม้ประเทศแห่งนี้จะถือเป็นหนึ่งในสมาชิกก่อตั้งของสหประชาชาติมาตั้งแต่ปี 1945 แต่ในทางปฏิบัติพวกเขาไม่เคยหลุดพ้นจากอำนาจของรัสเซียเลย

ยูเครนในยุคคอมมิวนิสต์จึงรับแนวทางการพัฒนาประเทศมาจากสหภาพโซเวียตทั้งหมด เช่นเดียวกับนโยบายการกีฬา โดยยูเครนให้ความสำคัญต่อการพัฒนาวิชาพละศึกษา มีการทุ่มงบประมาณเพื่อสร้างสนามกีฬาครบวงจร, สระว่ายน้ำ, โรงยิม และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬาอีกมากมาย ซึ่งสิ่งก่อสร้างทั้งหมดนี้ถือเป็นการใช้งบประมาณเกินความจำเป็นของรัฐ เพราะเมื่อยูเครนแยกตัวจากสหภาพโซเวียตในปี 1991 สถานที่ทางกีฬาเหล่านี้ได้ถูกทิ้งร้างและปราศจากผู้มาใช้งาน

ถึงอย่างนั้นวัฒนธรรมของรัสเซียที่ฝังรากลึกในยูเครนยาวนานกว่าร้อยปีก็ส่งผลให้ชาวยูเครนชื่นชอบกีฬาอันเป็นที่นิยมในประเทศรัสเซีย โดยเฉพาะกีฬาฟุตบอลซึ่งสหภาพโซเวียตครองความยิ่งใหญ่ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 ได้กลายเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในยูเครน เช่นเดียวกับมวยปล้ำ ที่ขณะนั้นสหภาพโซเวียตถือเป็นตัวเอกในวงการมวยปล้ำสมัครเล่นบนเวทีโอลิมปิก

ความสัมพันธ์ด้านกีฬาของรัสเซียและยูเครนจึงครอบคลุมตั้งแต่นโยบายการพัฒนาประเทศ ไปจนถึงเรื่องพื้นฐานอย่างกีฬาที่ประชาชนทั่วไปชื่นชอบ และเมื่อทั้งสองประเทศแยกการปกครองขาดจากกัน ดูเหมือนว่าความสัมพันธ์ด้านกีฬาของทั้งสองฝ่ายจะไม่มากไปกว่าการเป็นคู่แข่งขันในสนาม จนกระทั่งเกิดวิกฤตการเมืองซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างสองประเทศ จึงส่งผลให้ความสัมพันธ์ด้านกีฬาของรัสเซียและยูเครนเกิดขึ้นอย่างจริงจังอีกครั้ง ซึ่งคราวนี้เป็นไปในแง่ลบอย่างถึงที่สุด

ตึงเครียดเพราะวิกฤตการณ์ไครเมีย

ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนในปัจจุบันมีจุดเริ่มต้นจาก “วิกฤตการณ์ไครเมีย” ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึง เมษายน ปี 2014 โดยกลุ่มทหารลับผู้ไม่เปิดเผยหน้าตาของรัสเซียได้เดินทางเข้ายึดสถานที่สำคัญในบริเวณคาบสมุทรไครเมีย ประเทศยูเครน เช่น สนามบิน หรือ กองทัพทหาร

 

UFABETWIN

 

การกระทำทั้งหมดนี้ของทหารรัสเซียเป็นไปตามคำสั่งของ วลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีของรัสเซีย โดยเขาได้กล่าวอย่างชัดเจนต่อสาธารณะว่า “เราจำเป็นต้องทวงคืนไครเมียกลับมาสู่รัสเซีย” ซึ่งการเข้ายึดครองไครเมียในครั้งนี้ทหารรัสเซียได้ทำการเข้าควบคุมสภาสูงของไครเมีย มีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่นิยมรัสเซีย ก่อนจะประกาศก่อตั้ง สาธารณรัฐไครเมีย รัฐอิสระที่ไม่ขึ้นตรงต่อประเทศยูเครนอีกต่อไป

ท้ายที่สุดยูเครนต้องถอนกำลังทั้งหมดออกจากคาบสมุทรไครเมีย และถึงแม้นานาชาติจะยังรับรองให้คาบสมุทรไครเมียเป็นส่วนหนึ่งของประเทศยูเครน แต่ในทางปฏิบัติรัสเซียมีอำนาจเต็มกำลังเหนือดินแดนบริเวณดังกล่าว และตามกฎหมายรัสเซียแล้ว สาธารณรัฐไครเมียถือเป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเซีย

ทันทีที่อำนาจของรัสเซียมีเหนือคาบสมุทรไครเมียอย่างเต็มรูปแบบ ทุกสโมสรฟุตบอลที่อยู่ภายใต้เขตแดนดังกล่าวต่างถูกสั่งยุบโดยรัฐบาลรัสเซีย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ทาฟรียา ซิมเฟโรโพล สโมสรฟุตบอลชื่อดังเจ้าของแชมป์ลีกยูเครน 4 สมัย โดยหลังจากจบฤดูกาล 2014 สโมสรเหล่านี้ถูกปฏิรูปตามกฎหมายรัสเซีย และถูกบีบบังคับให้ถอนตัวออกจากลีกฟุตบอลยูเครน เพื่อเตรียมไปเริ่มต้นใหม่ในดิวิชั่น 3 ของลีกรัสเซีย

อย่างไรก็ตามความต้องการของรัฐบาลรัสเซียที่จะผนวกทีมฟุตบอลจากไครเมียเข้าสู่ลีกตัวเองกลับไม่เป็นผล เนื่องจากสหพันธ์ฟุตบอลยุโรป หรือประกาศชัดเจนว่าสาธารณรัฐไครเมียถือเป็นเขตปกครองตนเองที่ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจของประเทศใด จึงไม่สามารถรับรองให้ทีมฟุตบอลในไครเมียลงเล่นในรัสเซียได้

ไครเมียพรีเมียร์ลีก การแข่งขันฟุตบอลโฉมใหม่จึงถือกำเนิดขึ้นในปี 2015 เพื่อเปิดทางให้สโมสรฟุตบอลในไครเมียลงแข่งขัน ทั้งนี้ไม่ใช่ทุกทีมที่จะยอมตกอยู่ภายใต้อำนาจของรัสเซีย โดย ทาฟรียา ซิมเฟโรโพล ตัดสินใจปฏิรูปสโมสรใหม่เพื่อให้ได้ลงเล่นในลีกยูเครนต่อไป โดยพวกเขาตัดสินใจย้ายไปเล่นในนครเคียร์ซอน เมืองท่าทางตอนใต้ของยูเครนซึ่งอยู่เหนือไครเมียขึ้นไป และเริ่มต้นแข่งขันในลีกระดับ 4 หรือลีกสมัครเล่น ตั้งแต่ปี 2016

ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนไม่ได้สร้างผลกระทบต่อทีมฟุตบอลในไครเมีย แต่ยังรวมถึงภาพกว้างของทีมฟุตบอลในทั้งสองประเทศ โดยนับตั้งแต่ปี 2014 ทาง ยืนยันว่า พวกเขาจะไม่จับฉลากประกบคู่ให้ทีมฟุตบอลจากรัสเซียและยูเครนต้องโคจรมาพบกันในรอบแบ่งกลุ่มของการแข่งขันฟุตบอลสโมสรยุโรป

แม้แต่ฟุตบอลระดับนานาชาติอย่าง ฟุตบอลยูโร 2020 ทีมชาติรัสเซียและทีมชาติยูเครน ถูกสั่งไม่ให้จับมาอยู่ในกลุ่มเดียวกันในการแข่งขันรอบแรก แต่ถ้าหากทีมฟุตบอลของทั้งสองชาติพบเจอกันในรอบน็อกเอาต์ จะไม่เข้าไปเปลี่ยนแปลงการประกบคู่แต่อย่างใด

แต่ถึงจะพยายามหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาระหว่างทั้งสองชาติในโลกกีฬาให้มากที่สุด ความสัมพันธ์อันบาดหมางของรัสเซียและยูเครนก็ปรากฏผ่านโลกฟุตบอลจนได้ โดยสาเหตุมาจากชุดแข่งขันของทีมชาติยูเครนในศึกยูโร 2020 ที่มีลวดลายของประเทศยูเครนซึ่งผนวกรวมคาบสมุทรไครเมียเอาไว้ด้วย แถมบริเวณหลังคอเสื้อของชุดแข่งขันมีการเขียน ซึ่งเป็นคำขวัญที่ใช้กันภายในหมู่ทหารยูเครน

ออกคำสั่งให้ยูเครนลบคำขวัญดังกล่าวออกไปจากชุดแข่งขัน โดยบอกว่าการสื่อสารที่ออกมาผ่านเสื้อตัวนี้เป็นการแสดงออกทางการเมือง ซึ่งตามกฎของแล้ว ไม่อนุญาตให้ผู้เกี่ยวข้องในสนามแข่งขันติดสัญลักษณ์ใดเพื่อแสดงออกทางการเมือง

 

UFABETWIN

 

อย่างไรก็ดีเสื้อตัวนี้ขายหมดที่ประเทศยูเครนภายในระยะเวลาเพียง 4 วัน สวนทางกับความเห็นของ ดมิทรีย์ สวิชเชฟ สมาชิกรัฐสภารัสเซียที่กล่าวว่า เสื้อตัวนี้แสดงออกถึงเจตนาอันไม่เหมาะสมอย่างถึงที่สุด

ถึงเวลาแก้ปัญหาแล้วหรือยัง ?

ในขณะที่ความสัมพันธ์ด้านกีฬาของรัสเซียและยูเครนระยะหลังเต็มไปด้วยความตึงเครียด และทางออกของบรรดาผู้มีอำนาจในวงการคือ “ทำเป็นลืมมันไป” ไม่มีใครพยายามพูดถึงเรื่องนี้อย่างจริงจัง และดูเหมือนว่าการหลีกเลี่ยงไม่ให้ทั้งสองชาติพบกันในสนามแข่งขันจะเป็นหนทางที่ช่วยให้สองชาติเดินบนเส้นทางเดียวกันต่อไปอย่างปกติที่สุด

แต่จนแล้วจนรอดรัสเซียกับยูเครนก็โคจรกลับมาพบกันในการแข่งขันระดับสูงจนได้ โดยการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2022 เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทั้งสองชาติโคจรมาพบกันในการแข่งขันรอบรองชนะเลิศ ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว รัสเซียเป็นฝ่ายชนะด้วยสกอร์ 3-2

การแข่งขันนัดนี้ได้รับการจับตามองเป็นอย่างมาก เพราะนี่ถือเป็นครั้งแรกที่ทีมฟุตบอลหรือฟุตซอลของทั้งสองชาติพบกันในการแข่งขันระดับนานาชาติ นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ไครเมียเมื่อปี 2014 โดยครั้งสุดท้ายที่ทีมฟุตบอลของทั้งสองชาติพบกันต้องย้อนกลับไปถึงปี 2007

ก่อนการแข่งขันจะเริ่มต้น ส่งสัญญาณเรียกร้องให้นักเตะทั้งสองทีมลงแข่งขันโดยคำนึงถึงเรื่องแฟร์เพลย์ ซึ่งทางผู้เล่นได้ขานรับโดยยืนยันว่าทั้งสองชาติจะทิ้งความขัดแย้งทางการเมืองไว้เบื้องหลัง และโฟกัสไปยังการแข่งขันบนสนามเพียงอย่างเดียว

“นี่คือการแข่งขันที่มีความสำคัญเพราะมันเป็นเกมรอบรองชนะเลิศ มันไม่สำคัญหรอกว่าเราลงเตะกับทีมใด บางทีคุณอาจจะอยากให้ผมพูดเรื่องเกี่ยวกับการเมือง แต่เรามาที่นี่เพื่อพูดคุยถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกีฬาเท่านั้น” เซอร์เกย์ อับรามอฟ กัปตันทีมฟุตซอลทีมชาติรัสเซีย กล่าว

ท่ามกลางความตึงเครียดระหว่างทั้งสองชาติที่กลับมาพุ่งสูงขึ้นอีกครั้ง หลังรัสเซียส่งทหารราว 175,000 นาย เข้าประชิดบริเวณชายแดนประเทศยูเครน ดูเหมือนว่าสนามกีฬาจะเป็นพื้นที่เดียวที่เราได้เห็นความเป็นมิตรระหว่างผู้คนทั้งสองชาติ เหมือนกับที่เกิดขึ้นในการแข่งขันฟุตซอลยูโร ซึ่งทั้งสองทีมแข่งขันโดยไม่มีอะไรเกินเลยไปกว่าคำว่าเกมกีฬา

แต่ประเด็นที่น่าขบคิดกว่าคือ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่วงการกีฬาจะต้องออกมาแสดงออกเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองชาติที่แย่ลงทุกวัน หลังมีรายงานว่านักกีฬาของรัสเซียและยูเครนในมหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 ถูกแยกห่าง และแทบไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันเลย

เมื่อ วลาดีสลาฟ เฮราสเคฟย์ นักกีฬาไอซ์สเก็ตชาวยูเครนชูกระดาษที่เขียนคำว่า “ไม่เอาสงครามในยูเครน” นี่คือสัญญาณที่บอกอย่างชัดเจนแล้วว่า หมดเวลาที่วงการกีฬาจะหลบเลี่ยงปัญหาระหว่างรัสเซียและยูเครน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่ความสัมพันธ์ของนักกีฬาสองชาติเริ่มตึงเครียด และต้องมานั่งลุ้นทุกครั้งว่าจะเกิดอะไรขึ้นหรือไม่เมื่อพวกเขาพบกันในเกมการแข่งขัน

ต่อจากนี้ไปความสัมพันธ์ด้านกีฬาของรัสเซียและยูเครนจะดีขึ้นหรือแย่ลง แน่นอนว่ามีความเกี่ยวข้องกับสถานการณ์การเมืองระหว่างทั้งสองชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่มันคงจะดีกว่านี้หากวงการกีฬาผลักดันเพื่อให้เกิดการเรียกร้องสันติภาพผ่านเวทีการแข่งขันอย่างจริงจัง เพราะอย่างน้อยที่สุด บรรยากาศระหว่างนักกีฬาทั้งสองชาติจะมีความผ่อนคลาย และมีทิศทางที่แตกต่างไปจากความตึงเครียดที่เป็นอยู่ตอนนี้แน่นอน

UFABETWIN